หลายครั้งที่ไปเลือกซื้อคันเบ็ด เรามักจะเห็นตัวอักษรภาษาอังกฤษและตัวเลขที่ดูเหมือนจะเป็นสเป็คคันเบ็ด น้าๆ เคยสงสัยไหมครับว่าอักษรและรหัสบนคันเบ็ดนั้น บ่งบอกอะไร? ลักษณะคันเป็นคันประเภทใด? เหมาะสำหรับการใช้งานแบบไหน? วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับรหัสเหล่านี้ หรือที่เรียกกันว่า “สป็คคันเบ็ด” กันครับ

ก่อนที่เราจะอ่านสเป็นคันเบ็ดได้ เราจำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับส่วนประกอบต่างๆของคันเบ็ดก่อนนะครับ วันนี้เราจะมาลงรายละเอียดเชิงลึกอย่างครบถ้วนว่าคันเบ็ด 1 คัน ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง ไม่ว่าจะเป็น ไกด์ แบงค์ รีลซีท และด้ามจับ นับเป็นส่วนประกอบของคันทั้งหมด ที่เราจำเป็นต้องศึกษาก่อนจะเลือกซื้อคันเบ็ดดีดีมาไว้ใช้สักคันครับ เพราะไกด์ แบงค์ รีลซีท และด้ามจับของคันแต่ละแบรน์ก็จะมีเกรดแบ่งอยู่ น้าๆอาจจะสงสัยว่า แล้วส่วนประกอบของคันเบ็ดเกี่ยวอะไรกับรหัสบนคันเบ็ด? จะเลือกซื้ออย่างไร? อย่าลืมนะครับ ว่าคันเบทและคันสปินแตกต่างกันที่รีลซีท เมื่อรีลซีทแตกต่างกัน มีการแบ่งประเภทคันอย่างชัดเจน ดังนั้นทางผู้ผลิตจึงได้ทำรหัสคันเบ็ดขึ้นมา เพื่อให้ง่ายต่อลูกค้าในการดูสเป็คคันเบ็ด

การดูสเป็คคัน ยังรวมไปถึงการดูลักษณะเฉพาะของคันแต่ละประเภทว่าแตกต่างกันอย่างไร? เป็นคันที่ใช้วัสดุแบบไหน?
เพราะส่วนประกอบเหล่านี้ จะทำให้เราเข้าใจได้ว่า รหัสที่อยู่บนคันเบ็ดนั้น มาจากอะไร แน่นอนครับว่า อักษรและตัวเลขบนคันเบ็ดนั้น มาจากโมเดล น้ำหนักเหยื่อหรือเวท ความยาวคัน ท่อนต่อ ค่าต่างๆ และตัวย่อของชนิดคัน เช่น C และ S ที่ย่อมาจาก Casting Rod (คันเบท) และ Spinning Rod (คันสปินนิ่ง)

ดังนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องทำความเข้าใจกับส่วนต่างๆครับ เพียงเท่านี้เราก็จะสามารถ เลือกซื้อคันได้ตามแบบที่เราต้องการแล้วครับ
สิ่งสำคัญที่จะต้องนำมาประกอบและพิจารณาในการเลือกคันเบ็ด
ก่อนที่จะไปเจาะลึกข้อมูลต่างๆ จำเป็นมากครับที่เราจะต้องรู้เกี่ยวกับส่วนประกอบดังต่อไปนี้ ซึ่งถือว่าสำคัญมากครับ เพราะถือว่า เป็นส่วนประกอบที่จะต้องสัมพันธ์กับการใช้งานของเรา เมื่อซื้อไปใช้งานก็ต้องเลือกให้ถูกต้องและเหมาะสมครับ
สิ่งสำคัญที่จะต้องนำมาประกอบและพิจารณาในการเลือกคันเบ็ด มีดังนี้ครับ

ในส่วนยิบย่อยเช่นวัสดุแต่ละส่วน จริงๆเราสามารถเลือกได้ครับ ว่าต้องการเกรดไหน
ราคาก็จะเพิ่มขึ้นตามเกรด มีหลายคนที่สั่งให้ร้านขายอุปกรณ์ตกปลาบิวท์คันให้ เพราะอยากเน้นในแต่ละส่วนของคัน ที่อาจจะไม่มีการผลิตออกมาใส่คู่กัน เป็นคันตามสไตล์ตัวเอง หรือที่เรียกว่าคันบิวท์ล่ะครับ ซึ่งจะมีราคาสูงกว่าคันทั่วๆไป เพราะแต่ละส่วนที่เลือกเอามาบิวท์ ส่วนใหญ่ก็จะเลือกเน้นเกรดดีดีทั้งนั้น เดี๋ยวบทความหน้าเราจะมาอธิบายแต่ละเกรดกันครับ
คันมีกี่ประเภท ?

ประเภทคัน คันสปินนิ่ง (Spinning Rod)

จุดสังตุของคันสปินนิ่ง วงไกด์ จะถูกออกแบบมาให้สายแขวนอยู่ที่ไกด์ใต้คันเบ็ด
ต่างจากคันเบทคาสติ้งที่วงไกด์อยู่ด้านบน ลักษณะดังกล่าวทำให้คัน เหมาะสำหรับใช้งานคู่กับรอกสปินนิ่งมากกว่าและไม่เหมาะสำหรับรอกเบทครับ

ระดับความยาวนั้น มีตั้งแต่ 5 ฟุต ขึ้นไปจนถึง 15 ฟุตหรืออาจจะยาวกว่านั้นก็ได้หากว่ามีผู้ที่ผลิตออกมา แต่ที่เห็นก็ไม่น่าจะเกิน 12-15 ถือว่ามีตัวเลือกความยาวหลากหลายให้น้าๆนักตกปลาได้เลือกใช้กัน ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ใช้ว่าต้องการใช้งานกับรอกเบอร์อะไร สายแบบไหน ปลาไซต์กี่กิโลครับ หมายตกปลากว้างก็ต้องใช้คันยาว ครับ

ข้อควรระวัง
มีน้าๆหลายคนคิดว่ายิ่งคันยาวยิ่งตกปลาใหญ่ได้เพราะออกหมายกว้าง ก่อนอื่นต้องขอบอกก่อนนะครับว่า ยื่งคันยาวยิ่งทำให้ ประสิทธิภาพในการอัดปลาลดน้อยลงนะครับ เจอบึกไซต์หลายโล บอกเลยว่ามีสิทธิ์หักครับ เพราะฉนั้น ยิ่งปลาไซต์หลายโล แรงกระชากแรงดึกเยอะๆ ยิ่งควรใช้คันสั่น คันท่อนเดียวนะครับ ความยาวของคันท่อนเดียวสำหรับอัดปลาใหญ่ควรจะประมาณ 6-7 ฟุตครับ

ประเภทคัน คันเบทคาสติ้ง (Casting Rod)

คันเบทเป็นคันเบ็ดประเภทที่ ออกแบบได้สวยงาม ไม่ว่าจะเป็นสีสัน ลวดลายต่างๆ
หรือการจัดเรียงลายไกด์ที่ได้ความเหมาะสม วงไกด์ของคันเบทนั้นจะอยู่ด้านบน
ต่างจากคันสปินนิ่งที่วงไกด์นั้นจะอยู่ด้านล่าง เหมาสำหรับการใช้งานรอกเบท

จุดสังเกตุอีกอย่างคือ รีลซีท ที่เป็นแบบเฉพาะของรอกเบท ที่ออกแบบมาให้มีตัวจับ
ซึ่งทำให้เราจับได้ถนัดมากขึ้น เหวี่ยงได้ถนัดขึ้น
ต้องใช้เวลาการฝึกตีอยู่ระยะหนึ่ง เมื่อชำนาญแล้วจะเกิดความคล่องตัวขึ้นเอง
ไม่สามารถใช้งานกับรอกสปินนิ่งได้ เนื่องจาก วงไกด์ และรีลซีท
ที่ออกมาให้ใช้ได้เฉพาะรอกเบทครับ

ประเภทคัน คันเบ็ดไม้ไผ่ (Cane Pole)

คันเบ็ดไม้ไผ่ เป็นคันพื้นบ้าน ไม่มีไกด์หรือที่ติดยึดรอก ใช้ในการตกปลาอยู่กับที่
นักตกตกปลาในบ้านเราอาจจะยังไม่คุ้นเคย กันนักแต่สำหรับนักตกปลาในต่างประเทศ คันไม้ไผ่ก็ยังถือว่าเป็นคันเบ็ดที่มีนักตกปลาบางกลุ่มที่นิยมความคลาสสิคเล่นกันอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกตกด้วยชุดคันฟลาย

ข้อจำกัด ต้องการการดูแลอยู่พอสมควร การจัดเก็บก็ควรอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่รุนแรงมากเช่นไม่ปะทะกับแสงแดดโดยตรง ไม่ชื้นเกินไป และต้องไม่วางพิงกันผนังไว้นานๆอย่างเด็ดขาดเลยนะครับ เพราะคันเบ็ดจะโค๊งงอตามแนวที่วางพิง

ประเภทคัน คันชิงหลิว (Telescopic Pole Rod)

เป็นคันเบ็ดยุคใหม่แบบที่เรียกว่า Retro Styles เหมือนๆกับการตกแบบ Fly ครับ
คำว่า “ชิงหลิว” ความหมายคือไม้ไผ่ ที่มาจากภาษาจีนนั่นเอง แต่อย่าสับสนกับคันเบ็ดไม้ไผ่นะครับ

คันชิงหลิวตกปลาเกล็ดน้ำจืด จะมีตั้งแต่ 7 ฟุตจนถึง 21 ฟุต และ 210 ( 7 ฟุต) , 240 (8 feet) , 270 (9 feet) คันเบ็ดชิงหลิวนั้นไม่มีการประกอบกับรอกใดๆ เพราะไม่มีที่ยึดขารอก reel seat แม้แต่สายก็ยังคงใช้ผูกที่ปลายคันเบ็ด โดยที่ทางคันเบ็ดนั้นจะทำห่วงมาให้หรือบางทีก็ทำมาเป็นสายสำเร็จที่ปลายคัน เลยก็มี

ประเภทคัน คันเบ็ดปากกา ( Pen Fishing Rod)

สำหรับคันเบ็ดปากกา หรือ Pen Fishing Rod มีรูปทรงคลายๆปากกาครับ ที่เรียกว่าเบ็ดปากกาเพราะว่าคันเบ็ดนั้นมีตัวเหน็บปลอกปากกาเหมือนปากกาจริงๆ รูปทรงที่ดูกระทัดรัดพกพาง่าย

ผู้ผลิตบางเจ้าก็ออกแบบดีไซน์มาให้เหมือนปากกา ทำลวดลายน่ารักก็มี ประกอบไปด้วย คันที่สามารถสไลด์ได้ ปลอกคัน และตัวรอก ย้ำว่าคันเบ็ดปากกาซื้อแล้วมีรอกพร้อมเลยนะครับ น่ารักมากครับ ถ้าไม่ได้เอาไปใช้งานหนักล่ะก็ มีไว้สักตัวแล้วลองไปเล่นสนุกๆ ก็ดีครับ เพราะว่ารูปทรงที่สวยไม่ใหญ่มากแปลกไม่ซ้ำใคร ก็จะมีกลุ่มนักตกปลาที่หลงไหลเล่นเบ็ดปากกากันอย่างจริงๆจังๆอยู่ สำหรับผมมองว่า เป็นคันที่มีเสน่ห์มากครับ

ตัวคันนั้นด้านนอกจะเป็นโลหะผสมอลูมิเนียม ส่วนคันด้านในจะผลิตจากไฟเบอร์กลาสครับ แต่ถึงจะขึ้นชื่อว่าเป็นเบ็ดปากกา แต่เอาไปใช้เขียนแทนปากกาไม่ได้นะครับ

ประเภทคัน คันทรอลลิ่ง (Trolling rod)

สำหรับคันทรอลลิ่งนั้น ถือเป็นคันในกลุ่มคันตกปลาทะเล ใช้ตกบนเรือ เป็นคันลากเหยื่อที่มีลักษณ์เด่นเฉพาะ คือจะยาวประมาณ 5-7 ฟุต ครับเป็นคัน เวทแข็ง จึงเหมาะสมกับการใช้งานทะเลโดยเฉพาะ

เพราะมีขนาดค่อนข้างใหญ่ และแข็งแรง โดยทั่วไปเหมาะสำหรับนักตกปลา ที่ต้องการไปประกบคู่กับรอกเบททรอลลิ่ง ครับ ไกด์จะเป็น Rooler guide อาจมี Ring guideใช้บ้างในคันทรอลลิ่งขนาดเล็กถึงปานกลาง

ประเภทคัน คันโบ๊ท (Boat rod)

เป็นคันเบ็ดสำหรับตกปลาบนเรือสำหรับนักตกปลาที่ต้องเครื่อนที่ตลอดเวลา คล้ายคันเบทคาสติ้ง เพราะเป็นคันเบ็ดที่นักตกปลา เรียกว่าคันที่ใช้กับรอกขวางซึ่งมักนิยมใช้คู่กับรอกเบทคาสติ้งขนาดใหญ่หรือใช้กับรอกทรอลลิ่ง คันโบ้ทไม่ได้ออกแบบมาใช้กับงานลากเหยื่อไม่ทนต่อแรงกระชากเท่ากับ คันทรอลลิ่งครับ

คันโบ้ทมักใช้ถือตกจึงเป็นคันที่เบาและเล็กกว่าคันทรอลลิ่ง ด้ามทำด้วยยาง ฐานรอกเป็นกราไฟท์ครับ ซึ่งวัสดุที่ใช้ทำคันโบ้ทก็เหมือนๆ กับที่ใช้ทำคันสปินนิ่ง หรือเบทคาสติ้ง แต่โดยปกติคันโบ้ทจะสั้นกว่า คือมีความยาวอยู่ในช่วง 5.5-6 ฟุต มักจะเป็นคันท่อนเดียวแอ็คชั่นของคันใกล้เคียงกับคันทรอลลิ่งครับ

คันโบ้ทส่วนใหญ่จะใช้ไกด์บนคันเป็นไกด์วงแหวนกลม และมีขนาดเล็ก แต่มีจำนวนหลายตัวเช่นเดียวกับคันเบทคาสติ้ง นักตกปลาทั่วไปนิยมใช้ตกปลาเกมหน้าดิน และปลาเกมกลางน้ำ หรือผิวน้ำ คันโบ้ทส่วนใหญ่ จะทำเป็นแฉกที่ส่วนโคนของด้ามจับ (Gimball)
สำหรับใส่กับเข็ดขมดสู้ปลาและปักกระบอกข้างเรือ และบางรุ่น หรือบางยี่ห้อสามารถถอดด้ามจับออกได้เพื่อสะดวกต่อการพกพาครับ

ประเภทคัน คันฟลาย (Fry rod)

ลักษณะทั่วไปของคันฟลายเหมือนกับคันสปินนิ่งมากที่สุด แต่มีลักษณะพิเศษอยู่ที่ตัวยึดฐานรอกหรือที่เรียกว่ารีลซีท (reel seat) จะติดตั้งอยู่ปลายล่างสุดของตัวคันเบ็ด นั่นคือตัวมือจับที่เป็นไม้ก็อก หรือยางสังเคราะห์ของคันฟลายจะมีเพียงท่อนเดียว ไม่มีด้ามจับตอนล่าง เว้นแต่บางรุ่นที่สามารถต่อด้ามพิเศษไปอีก 1 ส่วน แต่ก็มีลักษณะเป็นท่อต่อออกไปตรงๆ และมีปุ่มยาง หรือไม้ก็อกหุ้มตรงปลายเพื่อใช้เป็นที่พักปลายด้ามเบ็ดกับหน้าขาหรือบริเวณท้องได้บ้าง จุดพิเศษอีกอย่างหนึ่งคือ ไกด์เป็นแบบเฉพาะเรียกว่า Snake Guide คงเรียกจากรูปทรงของไกด์ที่ใช้ลวดบิดเป็นวงโค้ง ลักษณะคล้ายงูขดตัว แต่รุ่นใหม่ๆ บางรุ่นหันมาใช้ไกด์วงแหวนแทนกันมากขึ้น
ขนาดของไกด์เล็กกว่าคันสปินนิ่งมาก

คันฟลายเป็นคันเบ็ดที่มีแอ็คชั่นอ่อน (Slow) กว่าคันประเภทอื่น ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการส่งลายเบ็ดหรือเหวี่ยงเหยื่อได้ง่ายขึ้นนั่นเอง คันฟลายโดยทั่วไปมีเพียง 2 ท่อนเท่านั้น และคันฟลายไม่สามารถนำไปใช้กับรอกอื่นๆ ได้เลย วัสดุที่ใช้ก็เหมือนกับคันเบ็ดชนิดอื่น นอกจากนี้ยังนิยมนำไม้ไผ่มาทำคันเบ็ดกันอยู่มากพอควร เพราะมีคุณสมบัติเด่นทางด้านการสปริงตัว
ประกอบกับชุดฟลายนั้นถือได้ว่าเป็นอุปกรณ์คลาสสิก และเป็นงานศิลปะที่ควรแก่การอนุรักษ์ ราคาของคันฟลายก็มีตั้งแต่ถูกถึงแพงมากครับ

ประเภทคัน คันเซิร์ฟ (Surf rod)

สำหรับคัน Surf จะเป็นคันที่ยาวครับมีหลายท่อนต่อ โดยทั่วไปจะยาวตั้งแต่ 12ฟุตขึ้นไป ถึง 16 ฟุตครับ คันมีลักษณะค่อนข้างใหญ่ แข็งแรงครับ วงไกด์ที่ค่อนข้างใหญ่ เหมาะสำหรับใช้งานตกปลาชายฝั่ง ตีชายหาดที่ต้องการส่งเหยื่อไกลๆ มีทั้งคันเบสและสปิน
มีตั้งแต่ราคาถูกถึงราคาแพง คุณภาพของคันก็จะตามราคา ซึ่งน้าๆก็สามารถขอคำแนะนำจากผู้ขายเพื่อประกอบการตัดสินใจในการซื้อได้ครับ

ได้ลองอ่านบทความข้างต้นมาจนถึงตรงนี้ก็พอจะทราบคร่าวๆแล้วนะครับ ว่าคันเบ็ดมีกี่ประเภท และพอจะรู้เรื่องรหัสบนคันเบ็ดกันแล้วนะครับ
สำหรับบทความหน้า เราจะมาลงลึกเรื่องการเลือกเวทคันและความยาวของคันให้เหมาะกับรอกกันนะครับ ติดตามได้ในบทความหน้านะครับ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า